25 สิงหาคม 2553

หนังตะลุง(Shadow Puppet)



คือ ชื่อเรียกตัวหนังแกะสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏ บนจอผ้าขาวหน้าโรง โดยมี ปี่ กลอง และฆ้องบรรเลงเพลงประกอบ เป็นการเล่าเรื่องที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้อง เป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่า การ "ว่าบท" และมีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ โดยผู้ที่เป็นนายหนังตะลุงจะเป็นคนแสดงเองทั้งหมด

จากหลักฐานเก่าแก่เกี่ยวกับหนังตะลุงที่บ่งชี้ว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงน่าจะมีต้นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพัทลุง จากนั้นจึงแพร่หลายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้

ธนิต อยู่โพธิ์ (2522 : 1-2) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของหนังตะลุงว่า “มหรสพพื้นบ้านที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวไทยสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่ง"

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2525 : 180) ได้แสดงทรรศนะไว้ว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นที่ไทยได้รับมาจากชวา โดยกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นการละเล่นของชวาที่มีมาก่อน ศตวรรษที่ 11แล้วแพร่หลายเข้ามายังมาลายู และภาคใต้ของไทย โดยที่ชาวมลายูหรือมาเลเซียในปัจจุบันเรียกว่า วายังกุเล็ต (ไทยใช้วายังกุลิต)

“วายัง” แปลว่ารูปหรือหุ่น “กุเล็ต” แปลว่าเปลือก หรือหนังสัตว์รูปที่ทำด้วยหนังสัตว์ และตัวหนึ่งที่เข้ามาสู่ประเทศไทยหรือชวาก็ตามจะเห็นว่ามีรูปร่างลักษณะที่ผิดแปลกแตกต่างไปจากมนุษย์ธรรมดา เป็นเพราะความเชื่อของชาวชวานั้นไม่นิยมสร้างรูปคนที่เป็นที่เคารพนับถือ การทำตัวหนังจึงได้สร้างให้มีลักษณะที่ต่างไปจากคนธรรมดา ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏอยู่ในตัวหนังไทยโดยเฉพาะตัวตลก
เหตุที่มีผู้เรียกการเล่นโดยใช้เงานี้ว่า “หนังตะลุง”

เกิดจากการเริ่มนำ “เสาตะลุง” ซึ่งเป็นเสาสำหรับผูกช้าง เพราะชาวชวาที่เข้ามาทำมาหากินอยู่ในภาคใต้ของไทยและยึดอาชีพเลี้ยงช้าง รับจ้างทำงาน เมื่อถึงกลางคืนก็ก่อไฟขึ้นกันยุงกันหนาวและได้มีผู้หนึ่งเอาเล็บจิกเจาะใบไม้ขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ และจับใบไม้นั้นเชิดเล่นอยู่หน้ากองไฟให้เงาของใบไม้ที่เป็นรูปต่างๆ ไปปรากฏใกล้ๆ ปากก็ร้องเป็นทำนองประกอบไปตามการเชิดใบไม้

และจากแนวความคิดนี้ได้วิวัฒนาการจากการแกะใบไม้ซึ่งไม่ถาวรมาเป็นการแกะด้วยหนังสัตว์
ส่วนการเชิดแทนที่จะเชิดให้เงาไปปรากฏที่อื่นๆซึ่งอาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจน ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผ้าขึงเข้ากับเสาตะลุง และอาจจะโดยเหตุนี้เองจึงเรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “หนังเสาตะลุง”

และเมื่อเวลาผ่านไปจึงเหลือเรียกเพียง “หนังตะลุง”ตามสำเนียงสั้นๆ ของภาษาพื้นเมือง หนังตะลุง
ที่เล่นกันตั้งแต่เดิมไม่ได้เรียกว่าหนังตะลุงอย่างเช่นทุกวันนี้ หากแต่เรียกกันว่า “หนัง” หรือบางทีเรียกว่า
“หนังควน” เพิ่งมาเปลี่ยนเรียกหนังตะลุงกันในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนที่หนังเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ และหนังสมัยนั้นเป็นหนังของคนพัทลุง เมื่อเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ ก็อาจจะเรียกเพี้ยนไปจาก “พัทลุง” มาเป็น “ตะลุง” ก็เป็นได้

สำหรับอินเดีย เริ่มมีการแสดงหนังตะลุงหลังพุทธกาลเล็กน้อย ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจจะได้รับอิทธิพลการแสดงหนังตะลุงมาจากอินเดียก็ได้เนื่องจากการเข้ามาซึ่งการขยายอำนาจทางวัฒนธรรม ศาสนา การค้าขาย เป็นต้น

อุดม หนูทอง (2533 : 1) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในภาคใต้ว่ามีความสัมพันธ์กับทางอินเดีย โดยกล่าวไว้ว่า เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับหนังตะลุงก็จะพบว่า หนังตะลุงแบบอินเดีย ชวา บาหลี มาเลเซีย และภาคใต้ของประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันในหลายประการ เช่น ด้านธรรมเนียมการแสดง รูปหนัง ดนตรี ตลอดจนความเชื่อบางประการแต่ก็มีรายละเอียดต่างๆ แตกต่างไปตามวัฒนธรรมและประเพณีและศาสนา รวมทั้งการพัฒนาการแสดงของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังตะลุงในภาคใต้ของประเทศไทยกับหนังตะลุงของชวามีร่องรอยความสัมพันธ์กันหลายประการ และต่างก็มีวัฒนธรรมของอินเดียผสมอยู่อยู่อย่างเด่นชัด

หนังสือมหกรรมหนังตะลุงเทิดพระเกียรติ เฉลิม สิริราชสมบัติครบ 50ปี (2539 : 1-2) ได้กล่าวในเรื่องประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในส่วนของการศึกษา บทพากย์ฤๅษีและบทพากย์พระอิศวร ได้ความว่า ทราบว่าเดิมทีหนังตะลุงเป็นเรื่องของพราหมณ์กลุ่มที่นำหนังตะลุงเข้ามาในประเทศไทยน่าจะเป็นพวกที่นับถือฮินดูลัทธิไศวะนิกาย คือ บูชาพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งลัทธินี้ถ้าดูจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี น่าจะตกอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 แต่มิได้หมายความว่าหนังตะลุงจะเข้ามาพร้อมกับลัทธินี้อาจ จะเป็นช่วงหลังก็ได้ แต่คงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 18

อย่างไรก็ตาม หนังตะลุงนอกจากจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติสืบต่อกันมาอย่างช้านานแม้นักวิชาการยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นมาที่ไหน และเมื่อใดนั้น แต่นักวิชาการต่างเห็นพ้องกันว่าหนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่อย่างหนึ่งและเป็นการละเล่นที่นิยมกันมากในภาคใต้ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันและก็เป็นศิลปะประจำชาติของไทยอีกแขนงที่ควรอนุรักษ์เอาไว้มิให้สูญหาย

จากหนังตะลุง เมืองนครศรีธรรมราช สู่สายตา ชาว B.H.U. ในวันที่ 23 สิงหาคม 2553
โดย คุณพ่อ สุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน) พุทธศักราช 2549 หนึ่งในคณะผู้แสดงที่มากับคุณพ่อเล่าให้ฟังว่า ภูมิใจที่ได้ไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยสู่ระดับสากลไม่ว่าจะเป็นประเทศ เยอรมันนี ฮอลแลนด์ ญี่ปุ่น และครั้งนี้ที่อินเดีย โดยผ่านการติดต่อจากสถานทูตไทยในอินเดียไปยังกระทรวงวัฒนธรรม การเดินทางมาแสดงครั้งนี้คณะผู้แสดงได้ทำการแสดงใน 3 แห่ง คือ New Delhi, Lucknow และ ที่นี่ B.H.U. Varanasi


การแสดงจัดขึ้นในโรงละครของคณะ Performing arts ใน B.H.U. บรรยากาศในวันนั้นทำให้รู้สึกว่าชาวอินเดียให้ความสนใจในการแสดงศิลปวัฒนธรรมของไทยเป็นอย่างมาก มีนักเรียนหลายคนสนใจถาม เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงิน ที่ท่องเที่ยว และที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ คนอินเดีย
ส่วนใหญ่รู้จักประเทศไทยเพราะประเทศไทยเรามี “ช้างเผือก” หลังจากการแสดงสิ้นสุดลง ได้มีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับผู้แสดง มีครูที่นาฏศิลป์อินเดียท่านหนึ่งเดินเข้ามาขอถ่ายรูปกับคุณพ่อ สุชาติ และบอกให้เราช่วยบอกท่านว่า “ฉันชอบการแสดงของคุณมาก” ในขณะนั้นความรู้สึกที่เราเป็นคนไทยคนหนึ่ง รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งในความเป็นไทยของเรา

ศิลปะประจำชาติไม่ว่าจะเป็น สาขาใด ก็ตาม ขอเพียงคนไทยรุ่นหลัง ช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานต่อ ศิลปะประจำชาติที่งดงามของไทยเราก็คงจะไม่สูญหาย

คุณพ่อ สุชาติ ก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งได้ใช้ความพยายามที่จะสืบสานศิลปะการแสดงหนังตะลุงเอาไว้เพื่อให้ หนังตะลุงของไทย เป็นที่รู้จักของชาวโลก และก็ยังคงอยู่คู่ชาติไทยไป ตราบนานเท่านาน





อ้างอิงข้อมูลจาก
www.panyathai.or.th/wiki/index.php/หนังตะลุง
www.nattakarnlks.ob.tc/

24 สิงหาคม 2553

ซื้อ Scooter อินเดีย

การมาศึกษาในต่างประเทศ ต้องปรับตัวหลายอย่าง คณะที่เรียนอยู่ ก็ตั้งอยู่นอกมหาวิทยาลัย สุดแสนจะไกล ห่างจากที่พักประมาณ 6-7กิโลเมตร จะนั่งรถโดยสารประจำทาง(ออร์โต้เร็กชอว์)ก็ต้องนั่งไปสองต่อ เบียดกับแขกอีก จะปั่นจักรยานไปก็มีหวังกว่าจะไปถึง หอบกินพอดี ชีวิต น.ร.นอกสุดแสนจะลำเค็ญจริงๆ

ดังนั้น จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะซื้อสกู๊ตเตอร์ (Scooter)ซักคัน

สกู๊ตเตอร์ คือ รถจักรยานยนต์ขนาดเบา มีล้อขนาดเล็ก เป็นยานพาหนะที่เป็นที่นิยมอย่างมากในยุคหลังสงครามโลก เนื่องจากมีราคาถูก และสวยงาม ในปัจจุบันก็ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังนิยมใช้อยู่ เรามักจะเห็นสกู๊ตเตอร์ที่ขับไป-มา แถวพาหุรัด นั่นแหละ สกู๊ตเตอร์มีเกียร์อยู่ตรงแฮนด์ด้านซ้าย จำนวนเกียร์แล้วแต่รุ่น ก่อนสตาทรถต้องตะแคงก่อน เวลาจอดต้องยกขาตั้งขึ้น

ขั้นตอนการซื้อสกู๊ตเตอร์ก็ทำได้หลายวิธี คือ
1.ออกตระเวณหาตามร้านซ่อมมอร์เตอร์ไซด์ต่างๆ
2.สั่งจองกับแขกที่ร้านซ่อมมอร์เตอร์ไซด์ต่างๆนั่นแหละ
3.บอกให้เพื่อนๆช่วยหาอีกแรง
คอยอยู่2เดือน ปกติชอบสกู๊ตเตอร์แบบมี 2 เบาะ เลือกมากเลยคอยนานนิดนึง ราคาอยู่ที่ 3,200 รูปี
-ค่าโอน 400 รูปี
-ค่าซ่อมเกียร์ 1,900 รูปี
-ค่าปะผุ,ทำสี ,อุปกรณ์ตกแต่ง ประมาณ 3,000 รูปี
-ติดขาตั้งแบบรถสกู๊ตตี้ เพราะไม่มีแรงยกรถเวลาจอด
รวม 8,500 รูปี คิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,000 บาท
แต่งออกมาแล้วเป็นแบบนี้




หลายคนมักจะถามว่าเป็นผู้หญิงทำไมซื้อสกู๊ตเตอร์เพราะมีเกียร์ขับยาก บ้างก็บอกว่าไม่เคยเห็นผู้หญิงขี่ พอขี่ไปก็มีแขกมองเหมือนกัน เพราะผู้หญิงอินเดียไม่ค่อยขี่ แต่เห็นผู้หญิงต่างชาติ (ฝรั่ง) ซิ่งประจำ



ข้อดีของสกู๊ตเตอร์ในอินเดีย คือ
-ราคาถูก
-ค่าอะไหล่ถูก
-ช่างซ่อมมีความชำนาญ
-รถสวย
-ขับไม่ยาก (ตัวเองขับรถยนต์เกียร์กระปุกได้ ก็เลยคิดว่าไม่ยาก)

ข้อเสีย(สำหรับเราเอง)
-ต้องตะแคงก่อนสตาท

Raksha Bandhan Festival






เป็นเทศกาลที่มีขึ้นในช่วงคืนพระจันทร์เต็มดวง( Shravana) ของฮินดูในประเทศอินเดีย คือประมาณปลายเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนกันยายน ปีนี้ตรงกับวันที่ 24สิงหาคม 2553
เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความรักบริสุทธิ์ ระหว่างพี่ชายกับน้องสาว โดยน้องสาวจะผูกเส้นด้ายที่ข้อมือของพี่ชายเพื่อเป็นการให้คำสัญญาว่าจะเป็นพี่ น้องกันไปตลอด การผูกข้อมือนี้ไม่จำเป็นว่า น้องสาวจะผูกให้พี่ชายร่วมพ่อแม่เดียวกันเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ญาติ หรือเป็นเพื่อนที่ดีก็สามารถผูกให้กันได้





วันสำคัญนี้ B.H.U ก็หยุด 1วัน

ภาพจาก
http://www.google.co.th