18 เมษายน 2553
Songkran Festival at Varanasi 2010
สงกรานต์
เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
และในวันสงกรานต์ของทุกปี กลุ่มสมาคมพระนักศึกษา-นักศึกษาไทยมหาวิทยาลัยพาราณสี ก็ได้จัดงานสงกรานต์ขึ้นเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามของไทยไว้และเพื่อเผยแพร่ประเพณีที่ดีงามของไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก เหล่าพระและนักศึกษาก็ได้เชิญผู้ใหญ่ของทางมหาวิทยาลัยและอาจารย์คณะต่างๆมาร่วมงานเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสรดน้ำและขอพรจากท่าน และการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยเราอีกอย่างหนึ่งก็คือการรำ เพลงที่เราใช้แสดงในวันนั้นคือการแสดงรำเพลง
"ระบำวิชนี" เพราะคิดว่าหน้าจะเป็นเพลงหนึ่งที่เหมาะกับโอกาสนี้
ส่วนประกอบที่ใช้ในการแสดงในวันนั้นคือ
-สวมเสื้อแขนกระบอกในวันนั้นเพราะสถานที่แสดงมีพระหลายรูปจึงสวมเสื้อเพื่อความสุภาพ
-ผ้านุ่งสำเร็จ ตัดจากผ้าส่าหรีที่ซื้อจากบ้านคุณเปมู ซึ่งคุ้นเคยกับพระและนักศึกษาไทยเป็นอย่างดีจึงซื้อได้ในราคา๕๐๐รูปี เคยไปถามราคาที่แถบโกโตเลียราคา๑,๐๐๐รูปีขึ้นไป และตัดโดยคุณลุงช่างตัดผ้าผู้ชายชาวอินเดียใกล้บ้าน คุณลุงบอกว่าเราเป็นลูกค้าผู้หญิงที่มาตัดชุดคนแรกแต่คุณลุงใจดีมากและพยามตัดให้โชคดีที่คุณลุงพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย(ถ้ามีตัวอย่างไปให้คุณลุงตัดได้ทุกอย่าง)ค่าตัดผ้านุ่งสำเร็จ รวมผ้าซับใน ราคา๒๕๐รูปี
-สไบ ซื้อผ้าจากโกโตเลีย ราคาเมตรละ๑๕๐รูปี ซื้อมา๓เมตร ตัดสไบได้๒ผืน ผืนบาง๑ผืน ผืนหนาใช้๒ผืนเย็บประกบกันอีก๑ผืนค่าเย็บสไบ๒ผืน ๒๐รูปี
-พัด ซื้อพัดจากตลาดลังกาหน้ามหาวิทยาลัย พัด๒อัน ราคา๑๕รูปี สีและอุปกรณ์ตกแต่งราคารวมประมาณ๑๐๐รูปี ลงสีพัดโดยน้องต้อง บัณฑิตจากคณะศิลปะที่เพิ่งจบจากที่นี่ ตกแต่งพัดโดยบอดี้การ์ดหน้าหวานส่วนตัว ไม่คิดค่าแรง ใช้แรงงานต่างด้าวรึเปล่าหนอเรา
-เครื่องประดับอื่นๆขนมาจากไทย
-หน้า,ผมทำเอง
-เพลงที่ใช้รำ ฮอลลี่ ลูกศิษย์ของอ.นิยม แนบไฟร์ส่งมาให้ มีปัญหา ฮอลลี่จัดให้
-คิดอยู่ว่าถ้ากลับไทยต้องซื้อผ้ายกมาด้วย เพราะตระเวนหาทั่วพาราณสีแล้วไม่มี จะเอาผ้าส่าหรีลายสวยๆมาใส่แทนผ้ายกก็คงจะนุ่งยากเพราะส่าหรีลายสวยแต่บาง และหน้าผ้าก็กว้างมากเกินกว่าจะพับแล้วนุ่งแบบผ้ายก
-กิ๊บดำ ลักษณะไม่เหมือนบ้านเรา กิ๊บดำอินเดียจะโค้ง ไม่รู้จะใช้ถนัดหรือเปล่าเพราะยังไม่เคยทดลองใช้
-เครื่องสำอาง ยี่ห้อ MTI ไม่มีขาย ที่พอจะหาได้ก็มีแต่ยี่ห้อ LAKME,REVLON ส่วนตาแขก(KAJAL)และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่นี่เค้านิยมยี่ห้อ HIMALAYA
-เสปรย์ฉีดผม เหมือนจะไม่มี เห็นมีแต่เจลแบบหลอด ถ้ายังไงจะลองไปถามที่ร้านทำผมใหญ่ๆดูอีกที
และแล้วก็ทำหน้าที่ๆได้รับมอบหมายจากสมาคมเสร็จสมบูรณ์ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนชุดมาดูเค้าเล่นน้ำสงกรานต์ ดูแล้วชาวต่างชาติที่มาในงานรู้สึกประทับใจกับประเพณีสงกรานต์ของบ้านเรามาก แต่เวลาแขกวัยรุ่นมาเล่นน้ำด้วยเค้าราดน้ำตั้งแต่หัวลงมาเลยแฮะ ปีนี้ก็เลยได้เล่นสงกรานต์ ตอนอยู่ไทยอยากเล่นแต่ไม่ได้เล่นมาหลายปีมากๆ ถือว่างานสงกรานต์ที่พาราณสีปีนี้สนุกจริงๆ
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/